สถิตินักศึกษา หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต คณะศิลปศาสตร์

Written by Sarita.C. Posted in หลักสูตรระดับปริญญาตรี

สถิตินักศึกษา หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต คณะศิลปศาสตร์

สาขาวิชา รหัส
58 59 60 61 62 63 รวม
สาขาวิชาภาษาและภาษาไทยประยุกต์ 1 4   5
สาขาวิชาภาษาไทยประยุกต์   49 73 92 83 297
สาขาวิชาภาษาอังกฤษ 2 3 64 73 63 69 274
สาขาวิชาภาษาจีน - 1 44 68 52 62 227
สาขาวิชาชุมชนศึกษา - 3 36 23 71 82 215
สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมการบินและการบริการ   81 81
รวมทั้งหมด 3 11 193 237 278 377 1,099

ข้อมูล ณ วันที่ 7 มกราคม 2564

คู่มือการศึกษา

Written by Sarita.C. Posted in หลักสูตรระดับปริญญาตรี

อาจารย์ประจำหลักสูตร
   >>>> รายนามอาจารย์ประจำหลักสูตรต่างๆ 

 

คำอธิบายรายวิชา

หลักสูตรที่เปิดสอน

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต
สาขาวิชาภาษาจีนเพื่อการสื่อสาร

ชื่อปริญญา ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาจีนเพื่อการสื่อสาร
อักษรย่อปริญญา ศศ.บ.(ภาษาจีนเพื่อการสื่อสาร)
B.A.(Chinese for Communication)
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต 
สาขาวิชาชุมชนศึกษา

ชื่อปริญญา ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาชุมชนศึกษา
อักษรย่อปริญญา ศศ.บ. (ชุมชนศึกษา) 
B.A. (Community Studies)

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต 
สาขาวิชาภาษาเพื่อการพัฒนา

ชื่อปริญญา ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาเพื่อการพัฒนา
อักษรย่อปริญญา ศศ.บ.(ภาษาเพื่อการพัฒนา) 
B.A.(Language for Development)

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต 
สาขาวิชาภาษาจีน (หลักสูตรนานาชาติ)

ชื่อปริญญา ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาจีน(หลักสูตรนานาชาติ)
อักษรย่อปริญญา ศศ.บ.(ภาษาจีน) 
B.A.(Chinese Language)

 

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต

Written by Sarita.C. Posted in หลักสูตรระดับปริญญาตรี

สาขาวิชาภาษาเพื่อการพัฒนา

คิลปศาสตรบัณฑิตสาขาวิชภาษาเพื่อการพัฒนา

(วิชาเอกภาษาไทย/วิชาเอกภาษาอังกฤษ)

  • ชื่อปริญญา

    ชื่อเต็ม : ศิลปศาสตรบัณฑิต (ภาษาเพื่อการพัฒนา)
    Bachelor of Arts (Language for Development)
    ชื่อย่อ : ศศ.บ. (ภาษาเพื่อการพัฒนา)
    B.A. (Language for Development)

  • ปรัชญาของหลักสูตร

    ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ ความสามารถในการใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ที่เชื่อมโยงกับรากฐานทางวัฒนธรรมของไทย และนานาชาติ โดยใช้ภาษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งส่งผลต่อการสร้างสรรค์ในกระบวนการของการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยสามารถใช้ภาษา เพื่อแสวงหาความรู้ในการพัฒนาตนเองใช้ภาษาสร้างสรรค์งานในอาชีพ เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยมุ่งเน้นอาชีพทางธุรกิจ การท่องเที่ยว และอาชีพอื่น ๆ

  • วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

    1. ผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ ความสามารถในภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ที่เข้าใจบริบทของสังคม วัฒนธรรม และการพัฒนา
    2. ผลิตบัณฑิตเข้าสู่อาชีพในงานธุรกิจท่องเที่ยว และอาชีพอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ภาษาตามความต้องการของสังคม

  • หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาภาษาพื่อการพัฒนา 
    ประกอบด้วย 2 วิชาเอก คือ


    1.1) วิชาเอกภาษาไทย

    เป็นหลักสูตรการพัฒนาวิชาภาษาไทยเพื่อให้เชี่ยวชาญ ทั้งในด้านวิชาการ และในด้านทักษะ จนสามารถนำความรู้ทางภาษาไทยไปพัฒนาตนในด้านวิชาชีพต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นนักสื่อสารมวลชน นักประชาสัมพันธ์ เลขานุการ การใช้ภาษาไทยในวงการธุรกิจ ครูสอนภาษาไทยให้ชาวต่างชาติ ฯลฯ นอกจากนี้ ยังมีโอกาสพัฒนาทักษะภาษาต่างประเทศเพิ่มอีก 1 ภาษาในฐานะวิชาเลือกจำนวน 18 หน่วยกิต ได้แก่ ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น และภาษาเกาหลี เพื่อเสริมการเรียนรู้สำหรับการประกอบอาชีพที่ต้องใช้ภาษาเป็นเครื่องมือการสื่อสารในโลกยุคปัจจุบัน


    1.2) วิชาเอกภาษาอังกฤษ

    เป็นหลักสูตรเน้นการพัฒนาความรู้ความสามารถด้านภาษาอังกฤษทุกทักษะ เพื่อการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ และฝึกฝนทักษะภาษาต่างประเทศอื่น ๆ เช่น ภาษาจีน ภาษาเกาหลี และภาษาญี่ปุ่น เพิ่มเติมอีก 1 ภาษา ควบคู่กับการเรียนรู้ศาสตร์ในสาขาวิชาชีพสาขาวิชาใดวิชาหนึ่งตามความสนใจของผู้เรียนดังนี้ มัคคุเทศก์ ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารมวลชน บริหารธุรกิจ กฎหมาย และเศรษฐศาสตร์ ทั้งนี้เพื่อเป็นพื้นฐานในการประกอบอาชีพในอนาคต

  • จบแล้วทำอะไร?

    งานในภาครัฐและเอกชน
    1. งานประชาสัมพันธ์ 
    2. งานสื่อสารธุรกิจ
    3. งานมัคคุเทศก์
    4. งานสำนักงาน
    5. งานเลขานุการ
    6. งานวิชาการทางภาษา
    7. งานพิธีกร
    8. ผู้ประกาศ
    9. งานจัดการทางวัฒนธรรม

    ประกอบอาชีพอิสระ
    1. งานแปล
    2. ล่าม ฯลฯ

ดาวน์โหลดแผนการศึกษาตลอดหลักสูตร สาขาวิชาภาษาเพื่อการพัฒนา 

งานบริการการศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์